วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30


ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์บาสสอนเรื่อง "สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย"
“สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

พัฒนาการเล่นของเด็ก
1.อายุ 0–2 ปี
เป็นการเล่นแบบทารก เด็กจะใช้ตัวเองและอวัยวะไปสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยสมรรถภาพทางกายกระทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัส เพื่อรับรู้และมีการกระทำที่ซ้ำ ๆ
2. อายุ 2–3 ปี
เป็นขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ วัยนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ร่างกายก็มีความสามารถเพิ่มขึ้น
3. อายุ 3–6 ปี
      เป็นขั้นการเล่นที่สื่อความคิด เด็กจะเล่นด้วยการสมมติตนเอง สิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแทนของจริงที่ไม่มีอยู่ในที่นั้นได้ วัยนี้เด็กจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม มีความคิดและจินตนาการในการเล่นที่แสดงออกถึงการเรียนรู้ทางสังคม
       เครื่องเล่นของเด็กมีความสำคัญในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน ผู้ทำหน้าที่เป็นแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องเครื่องเล่นพอสมควรทั้งนี้เพื่อจะได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกสรรและจัดหาเครื่องเล่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เล่น
และสุดท้ายอาจารย์บาสก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แล้วนำเสนอสื่อที่แต่ละคนนำมา แล้วให้เลือกว่าจะเอาของใครไปนำเสนอในท้ายคาบ








การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ฉันได้นำสื่อตามที่อาจารย์สั่งมาและได้ทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆ ฉันได้ทำหน้าที่เขียนและเพื่อนๆก็เลือกสื่อของฉันไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำงานกลุ่มกัน ช่วยกันทำดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บาสสอนดี และ ตั้งใจฟังนีกศึกษาที่ออกไปนำเสนอแต่ละกลุ่มได้ให้ความเห็นต่างๆ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์บาสได้สอนเกี่ยวกับเรื่องสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ 
        เกมการศึกษา หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

ลักษณะสื่อ 
1.เกมจับคู่  - การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
                 - การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน
                 - การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
                 - การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม
2.เกมภาพตัดต่อ
3.เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)
4.เกมเรียงลำดับ
5.เกมจัดหมวดหมู่
6.เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์
7.เกมหาภาพความสัมพัธ์ตามลำดับที่กำหนด
8.เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)
9.เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย
10.เกมพื้นฐานการบวก
11.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)



การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่แอบเบื่อบ้าง ง่วงบ้างเพราะเนื้อหาเยอะแต่ก็ให้ความร่วมมือจดตามที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจเรียนดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บาสตั้งใจสอนนักศึกษาดีค่ะ




บทความสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย



การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
 
การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา

                  รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นและของเล่นที่เหมาะสม 

             "เด็กจะค่อยๆซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนเล่นหรือของเล่น     โดยเฉพาะเมื่อเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและมีผู้คอยชี้แนะให้ข้อมูลหรือสอนให้รู้จักคำบอกของชื่อเรียกสิ่งต่างๆรอบตัว หรือความหมายของสิ่งเหล่านั้นทีละเล็กละน้อยจากเรื่องที่ง่ายๆไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้นตามความสามารถของวัย"  การเลือกของเล่นที่ดีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตามศักยภาพของเด็ก จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากของเล่นเป็นสื่อกลางช่วยเปิดโลกภายในของเด็กออกสู่ภายนอก ทำให้เด็กได้ค้นพบความสามารถหรือความถนัดของตนเองด้วยตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้น 

พฤติกรรมการเล่นของเด็ก ว่า เด็กวัย 0-1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา

ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนักแต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ของเล่นควรเป็นประเภทที่ลากจูงไปมาได้ ประเภทรถไฟหรือรถลาก

สำหรับเด็กวัย 2-4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดีเพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่งเล่น กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้งตัว เตะขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ

ส่วนเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนามและเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้ เด็กพอใจที่จะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้
กิจกรรมการเล่นที่เหมาะสม ในเด็กวัย 0 - 1 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นหยอกล้อเด็กด้วยคำคล้องจองมีการแสดงสีหน้าท่าทางและใช้เสียงสูง ๆ ต่ำ ให้เด็กสนใจ เช่น การเล่นปูไต่ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นจับปูดำ การเล่นซ่อนหาของ เป็นต้น

ส่วนเด็กวัย 1-2 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การให้เด็กบริหารแขนขา การเล่นดิน-ทราย-น้ำ การหยิบของตามคำบอก เป็นต้น

สำหรับเด็กวัย 2-4 ปี ควรจัดให้เด็กใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น

เด็กวัย4-6 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ


การเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ 4 ข้อคือ

1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่นของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก

2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว

3.ประสิทธิภาพในการใช้เล่น ควรมีความยากง่ายเหมาะกับระดับอายุและความสามารถตามพัฒนาการของเด็ก ของเล่นที่ยากเกินไปจะบั่นทอนความสนใจในการเล่นของเด็กและทำให้เด็กรู้สึกท้อถอยได้ง่าย ส่วนของเล่นที่ง่ายเกินไปก็ทำให้เด็กเบื่อไม่อยากเล่นได้

4.ความประหยัดทรัพยากร ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงหรือผลิต ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยยกตัวอย่างของเล่นที่ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนามประเภท เสาชิงช้า ราวโหน ไม้ลื่น ไม้กระดาน อุโมงค์ บ่อทราย เครื่องเล่นที่มีล้อเลื่อนได้ เป็นต้น




วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 08.30-12.30

ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้เปิดเรียนวันแรกได้เรียนวิชาอาจารย์บาส วิชาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย รู้สึกดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีกครั้ง วันนี้อาจารย์บาสได้แจกใบปั๊มเวลาเข้าเรียนให้กับนักศึกษาทุกคนและวันนี้อาจารย์บาสใจดีให้ปั๊มไก่ทุกคนไม่มีปั๊มเสือ ;D และอาจารย์บาสได้พูดอธิบายว่าวิชานี้เรียนเรื่องอะไรบ้าง เกี่ยวกับอะไร และจะได้ทำสื่อการเรียนการสอน








การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้เปิดเรียนวันแรกวันนี้มาตรงเวลาไม่สายนะคะ ^^
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆมาตรงเวลาบางส่วน และตั้งใจฟังอาจารย์บาส
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์บาสใจดีแจกไก่ให้นักศึกษาทุกคน





Cute Unicorn